ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ | |
---|---|
เกิด | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2474[1] |
นามปากกา | ชาย บางกอก เพชร ชมพู |
อาชีพ | นักเขียน |
แนว | เรื่องสั้น |
ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ (เกิด 12 สิงหาคม พ.ศ. 2474 - ) เป็นนักเขียนเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียง ใช้นามปากกาว่า "ชาย บางกอก" ตั้งให้โดยประหยัด ศ. นาคะนาท ใช้เขียนเรื่องตลกหรรษา และนามปากกา "เพชร ชมพู" มีผลงานเขียนสารคดี และบทละครวิทยุ บทละครเวที และบทภาพยนตร์ มีชื่อเสียงจากเรื่องสั้นชุด "ท้องนาข้างกรุง" ตีพิมพ์ในนิตยสารฟ้าเมืองไทย เป็นผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ประเสริฐวาทินร่วมกับวาทิน ปิ่นเฉลียว[2]
ประวัติ
[แก้]ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ เกิดที่บางขุนเทียน กรุงเทพฯ เริ่มเขียนเรื่องสั้นตั้งแต่วัยรุ่น ได้ตีพิมพ์ครั้งแรกใน "ชาติไทยวันอาทิตย์" เมื่อ พ.ศ. 2490 ขณะนั้นอายุเพียง 16 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่อมาได้เรียนต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ และตั้งใจจะเรียนต่อคณะแพทย์ศาสตร์ แต่แล้วก็ไม่ได้เรียน เพราะตัดสินใจขาดสอบไล่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 วันสุดท้าย เพื่อไปฟังผลการส่งเรื่องสั้นตีพิมพ์ใน "เดลิเมล์วันจันทร์" ซึ่งมี เกียรติศักดิ์ บุณยเสนา (เวทางค์) เป็นบรรณาธิการ [3]
หลังจากพลาดการเรียนแพทย์ ประเสริฐ พิจารณ์โสภณ หันไปเป็นนักเขียนอย่างเต็มตัว เริ่มจากเรื่องสั้นได้ตีพิมพ์ใน "สยามสมัย" ของบริษัท ไทยพาณิชยการ เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในวงการ เป็นนักเขียนประจำของ เดลิเมล์วันจันทร์ และชาวกรุง
ผลงานที่มีชื่อเสียงของประเสริฐคือเรื่องสั้นชุด 99 ตอนจบ เรื่อง "ท้องนาข้างกรุง" ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารฟ้าเมืองไทย และรวมเล่มโดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์นของสุพล เตชะธาดา และได้รับการติดต่อซื้อลิขสิทธิ์แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัตินักเขียน สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
- ↑ ๓๕ ปี ต่วย"ตูน ๗๕ ปี วาทิน ปิ่นเฉลียว "ผมจะไม่เนรคุณตัวหนังสือ"[ลิงก์เสีย] สำเนาจาก นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม มกราคม 2549
- ↑ คริส สารคาม. นักเขียนในอดีต 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว, พ.ศ. 2542. 263 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-7343-81-9